เหมาะสำหรับ

  • งานฆ่าเชื้อไวรัสและควบคุมการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดนก (H1N1) การฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการระบาดของโรคหลังเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม, แผ่นดินไหว เป็นต้น 
  • ใช้ในการกำจัดแมลงในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร โรงพยาบาล ฟาร์มสัตว์ โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า บ้านพักอาศัย โรงอาหาร ห้องประชุมสัมมนา ร้านค้า ร้านอาหาร สวนสาธารณะ และอื่นๆ
  • ใช้สำหรับพ่นฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรียในยาพาหนะต่างๆ เช่น เครื่องบิน รถไฟ เรือขนส่งสินค้า รถยนต์ รถไฟฟ้า รถทัวร์ และอื่นๆ 
  • มีระยะการพ่นละอองเคมีได้ไกลถึง 8 เมตร
  • ถังบรรจุน้ำยาขนาดใหญ่ บรรจุน้ำยาได้มากถึง 10 ลิตร
  • มีสายสำหรับสะพายหลัง ไม่ต้องหิ้วให้เมื่อยมือ
  • ละอองละเอียดที่สุดและความเร็วรอบสูงที่สุดในท้องตลาด
  • ใช้งานง่าย น้ำหนักเบา

 

วิธีใช้งาน (How to use)

 

1. ผสมน้ำยาเคมีและน้ำตามสัดส่วนที่ต้องการใส่ลงในถังน้ำยาเคมี

2. ปิดฝาถังน้ำยาให้แน่นเพื่อป้องกันอากาศเข้าไปในถัง

3. เสียบปลั๊กไฟเข้ากับเต้าไฟฟ้า 220V/50Hz (ไฟบ้าน)

4. เปิดเครื่องโดยกดสวิทช์ที่อยู่บนด้ามจับของหัวฉีด

5. ปิดเครื่องโดยกดปุ่มปิดบนด้ามจับของหัวฉีด จากนั้นยกหัวพ่นให้สูงกว่าตัวถังค้างไว้ประมาณ 2-3 วินาที เพื่อให้น้ำยาค้างสายไหลกลับไปลงในถังน้ำยาเพื่อป้องกันมอเตอร์เสียหายจากความชื้นของน้ำยาที่ค้างสาย

ภาพการใช้งาน

อุปกรณ์มาตรฐาน (Standard Accessories)

1. กรวย (Funnel)

2. หัวปรับระยะ 5-8 เมตร (Nozzle Of Distance 5-8 m)

การบำรุงรักษา

1. เทน้ำยาออกจากถังให้หมดทุกครั้งหลังการใช้งาน

2. เช็ดทำความสะอาดถังน้ำยาและมอเมอร์สม่ำเสมอ

3. เก็บไว้ในที่แห้ง ห้ามเก็บไว้ในที่ชื้นจะทำให้มอเตอร์เสียหาย

ข้อแนะนำ (Suggestion)

 

  • เมื่อปิดเครื่องยกหัวพ่นให้สูงกว่าตัวถังค้างไว้ประมาณ2-3วินาที เพื่อให้น้ำยาค้างสายไหลกลับไปลงในถังน้ำยาเพื่อป้องกันมอเตอร์เสียหาย
  • เทน้ำยาออกจากถังให้หมดทุกครั้งหลังการใช้งาน
  • เช็ดทำความสะอาดถังน้ำยาและมอเตอร์สม่ำเสมอ
  • เก็บไว้ในที่แห้ง ห้ามเก็บไว้ในที่ชื้นจะทำให้มอเตอร์เสียหาย
  • บุคคลดังต่อไปนี้ห้ามใช้เครื่องพ่นละอองฝอยไฟฟ้า ULV  เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะจิตไม่ปกติ ผู้ที่อยู่ในอาการมึนเมา

 

คำเตือน

 

 

  • ระวังไม่ให้น้ำยาเคมีหรือน้ำกระเด็นเข้ามอเตอร์
  • ระวังอย่าให้มีสิ่งของไปปิดช่องลมเข้าของมอเตอร์
  • ห้ามใช้ฉีดพ่นย่าฆ่าแมลงที่มีฤทธิ์สูงโดยไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตามคำแนะนำบนฉลากยา
  • ห้ามวางถังน้ำยาไว้ใกล้กับไฟ และห้ามใช้พ่นน้ำมันเชื้อเพลิง แอลกอฮอล์ น้ำที่เป็นกรดออกฤทธิ์กัดกร่อน
  • ก่อนทำการเปิด/ปิดเครื่องควรเช็ดมือให้แห้งเพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อต
  • สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสมอ เช่น แว่นตา ชุดกันเคมี ถุงมือ รองเท้า และ หน้ากากเสมอ
  • ทุกครั้งที่เติมน้ำยาเคมีต้องทำการผสมตามอัตราส่วนที่กำหนด แล้วเติมผ่านกรวย
  • ตรวจเช็คสายไฟที่ใช้ต่อพ่วงทุกครั้งก่อนการใช้งานเพื่อป้องกันไฟช็อต