“กำลังอัดคอนกรีต” คืออะไร ? มาทำความรู้จักกับกำลังคอนกรีตกัน

กำลังคอนกรีต หมายถึง ความสามารถในการรับกำลังของคอนกรีตผสมเสร็จ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท นั่นก็คือกำลังอัดของคอนกรีตรูปทรงกระบอก (Cylinder)  และกำลังอัดคอนกรีตรูปทรงลูกบาศก์ (Cube) ซึ่งในประเทศไทยใช้กำลังอัดของคอนกรีต รูปทรงกระบอก เป็นมาตรฐานในการออกแบบนะจ๊ะ

 

ตัวเลข 240 / 280  และลงท้ายด้วย ksc บ่งบอกถึงอะไร ?

ksc ย่อมาจาก kilogram square centimetre. ก็คือกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรนั่นเอง โดยปกติแล้ว กำลังคอนกรีต ที่เราใช้กันตามทั่วไปก็คือกำลังคอนกรีตที่ 240 ksc ดังนั้นขออธิบายแบบง่ายๆ สมมุติว่าเราสั่งคอนกรีตแรงอัด 240 ksc นั่นหมายถึง คอนกรีตผสมเสร็จที่ได้จะรับแรงต่อพื้นที่ได้ที่ 240 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร หรือทุก ๆ พื้นที่ทางกว้างและยาว 1 เซนติเมตร จะสามารถรับน้ำหนักได้ 240 กิโลรัมนั่นเอง

แต่ข้อควรระวัง เกี่ยวกับตัวเลขกำลังอัดด้วย เพราะ 240 ksc มี สองแบบ คือ cylinder กับ cube ค่าจะไม่เท่ากัน 240 ของ cylinder จะเท่ากับ 210 cube ตรงนี้คือเทคนิคเล็ก ๆ ในการใช้งานคอนกรีต ดังนั้นควรเช็คแน่ใจก่อน เนื่องจากการรับน้ำหนักและราคาคอนกรีตจะไม่เท่ากัน ด้านล่างนี้จะเป็นตัวเลขที่เปรียบเทียบระหว่างค่ากำลังอัดของคอนกรีตรูปทรงกระบอก (Cylinder)  และกำลังอัดคอนกรีตรูปทรงลูกบาศก์ (Cube)

 

ตารางเปรียบเทียบค่ากำลังอัดของคอนกรีตผสมเสร็จ

ค่ากำลังอัดคอนกรีตผสมเสร็จ
รูปทรงกระบอก (Cylinder) รูปทรงลูกบาศก์ (Cube)
140180
180210
210240
240280
250300
280320
300350
320380
350400
380420
400450
420480
450500
500550
550600
600650
800850

 

!! ควรใช้ คอนกรีตกำลังอัดเท่าไหร่ ล่ะ ? ทำความเข้าใจ ความแตกต่างระหว่าง ksc. กัน

คอนกรีตนั้นมีขนาดของกำลังอัดที่แตกต่างกัน เพื่อที่จะสามารถใช้งานในการก่อสร้างได้อย่างเหมาะสมในงานแต่ละแบบแล้ว การเลือกกำลังอัดที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไปจะทำให้ท่านได้คอนกรีตที่ดีมีคุณภาพในราคาที่ต่ำ โดยกำลังอัดของคอนกรีตโดยทั่วไปจะมีกำลังอัดดังต่อไปนี้

1. LEAN

Lean หรือคอนกรีตหยาบ คือ คอนกรีตที่ค่อนข้างรับน้ำหนักได้ต่ำ ใช้สำหรับงานเทปรับระดับพื้นดินที่ไม่เรียบ รวมถึงช่วยป้องกันการสัมผัสกันโดยตรงระหว่างดินกับคอนกรีตสด โดยเฉพาะโครงสร้างที่อยู่ต่ำกว่าหรือใกล้กับระดับดินและงานหล่อโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ทั้งนี้ การเทคอนกรีตหยาบในบ้านเรานิยมเรียกกันว่า การเทลีน โดยการเทลีนจะเทลงไปบนพื้นดินหนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร เพื่อปรับหน้าดินให้เรียบและป้องกันการเปลี่ยนตำแหน่งของเหล็กที่เกิดจากการไหลของหน้าดิน

 

2. 180 ksc.

คอนกรีตกำลังอัด 180 ksc. หรือคอนกรีตที่สามารถรับแรงกดทับในแนวดิ่งได้ 180 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เหมาะสำหรับการใช้งานที่ไม่รับแรงกดทับมาก เช่น

  • การเทพื้นลานนอกบ้าน
  • ลานจอดรถเก๋ง รถกระบะ
  • ลานโรงเรียน
  • ลานอเนกประสงค์

 

4. 240 ksc.

คอนกรีตกำลังอัด 240 ksc .หรือคอนกรีตที่สามารถรับแรงกดทับในแนวดิ่งได้ 240 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร สามารถกันน้ำได้ในระดับหนึ่งโดยใช้น้ำยากันซึมเข้าช่วย เหมาะสำหรับการใช้งานในอาคารขนาดเล็กที่ได้มาตรฐานสูง และการใช้งานในถนนบางประเภท เช่น

  • งานถนนที่มีการจราจรน้อย
  • ลานจอดรถเก๋ง รถกระบะ
  • ถนนเทศบาล อบต. อบจ.
  • พื้นดาดฟ้า
  • พื้นห้องน้ำ
  • อาคารพาณิชย์ 2-4 ชั้น
  • บ้านชั้นเดียว, บ้าน 2 ชั้น
  • ฐานรากบ้าน

 

5. 280 ksc.

คอนกรีตกำลังอัด 280 ksc. หรือคอนกรีตที่สามารถรับแรงกดทับในแนวดิ่งได้ 280 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เหมาะสำหรับการใช้งานในอาคารขนาดกลาง และงานถนนที่ใหญ่ขึ้นตามขนาดของการใช้งาน เช่น

  • อาคารพาณิชย์ 2-4 ชั้น
  • โรงแรม
  • อาคารสำนักงาน 2-4 ชั้น
  • อาคารเรียน 4-6 ชั้น
  • อาคารที่พักอาศัย
  • อาคารพาณิชย์ 2-4 ชั้น
  • ถนนเทศบาล อบต. อบจ.

 

6. 320 ksc.

คอนกรีตกำลังอัด 320 ksc. หรือคอนกรีตที่สามารถรับแรงกดทับในแนวดิ่งได้ 320 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เป็นคอนกรีตที่ค่อนข้างแข็งแรง สามารถรับแรงกดทับได้มาก เหมาะสำหรับอาคารสูงที่มีเหล็กมาก และงานถนนสายหลัก เช่น

  • ถนนกรมทางหลวง
  • พื้นโกดังเก็บสินค้า
  • สระว่ายน้ำ
  • พื้นดาดฟ้า
  • อาคารที่พักอาศัย
  • อาคารเรียน 4-6 ชั้น
  • โรงแรมสูง
  • คอนโดมิเนียม 4-8 ชั้น

 

7. 380 ksc.

คอนกรีตกำลังอัด 380 ksc. หรือคอนกรีตที่สามารถรับแรงกดทับในแนวดิ่งได้ 380 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เป็นคอนกรีตที่สามารถรองรับงานได้เกือบทุกแบบตั้งแต่งานอาคารขนาดกลางไปจนถึงอาคารสูงที่มีเหล็กหนาแน่นมาก ประเภทของงานที่รองรับ ได้แก่

  • โรงแรมสูง
  • คอนโดมิเนียม 4-8 ชั้น
  • ศูนย์การค้าต่างๆ
  • ผนังเขื่อน
  • อาคารเรียน 4-6 ชั้น
  • ถนนกรมทางหลวง, สำนักงานทางหลวงชนบท
  • สระว่ายน้ำ

 

8. 400 ksc.

คอนกรีตกำลังอัด 400 ksc. หรือคอนกรีตที่สามารถรับแรงกดทับในแนวดิ่งได้ 400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษตามขนาดของการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่

  • อาคารที่สูงมากกว่า 8 ชั้นไป
  • ใช้เทเพื่อการผลิตแผ่นพื้น เสา คาน
  • ลานบิน
  • ผนังเขื่อน

 

9. 450 ksc.

คอนกรีตกำลังอัด 450 ksc. หรือคอนกรีตที่สามารถรับแรงกดทับในแนวดิ่งได้ 450 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษตามขนาดของการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ

 

กำลังของคอนกรีตผสมเสร็จ ต้องทดสอบที่ 28 วัน มันคืออะไร? มาทำความเข้าใจกัน

เพราะการบ่มคอนกรีตที่ 28 วัน มีการทดสอบมาแล้วว่าเป็นจุดที่ได้กำลังคอนกรีตมากที่สุดแล้ว (บ่มนานกว่า 28 วันก็ไม่ช่วยอะไร) กราฟและข้อมูลด้านล่าง **ขอบคุณภาพจากคุณ ปุ๊ ธรรมนูญ มงคลละ**